เพิ่มเป็นรายการโปรด | ติดตั้งเป็นหน้าหลัก | สมาชิก | ส่งต้นฉบับ | RSS
ค้นหาภายใน: การค้นหาขั้นสูง
    newsthaicn  
ตำแหน่งก่อนหน้าของคุณ:หน้าแรก > ธุรกิจไมซ์ > อากาศยาน
บางกอกแอร์เวย์
 

pg-logo-facebook.jpgAirbus_Re.jpgDSC_1294.JPG17408.jpgPremiere_Class.jpg

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบันการคมนาคมทางอากาศ ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งกำลังเจริญเติบโตอย่างมาก จนกลายเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในแผนกการบินสหกลแอร์ ของบริษัท กรุงเทพ สหกล จำกัด โดยประธานคณะผู้บริหาร นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินกิจการเดินอากาศประเภทเช่าเหมาลำ เครื่องบินลำแรกของบริษัทฯ เป็นเครื่องบินแบบ “Trade Wind” 2 เครื่องยนต์ ขนาด 9 ที่นั่งโดยสาร ทำการบินตามสัญญาว่าจ้างจากหน่วยงานก่อสร้างทางทหารของสหรัฐอเมริกา (OICC) ในการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาและทำการบินโดยเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ สนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย

ต่อมาบริษัทฯ ได้นำเข้าเครื่องบิน ISLANDER BN2 เพื่อทำการบินให้กับหน่วยงาน OICC และ USOM เพิ่มเติมนับจากนั้นบริษัทฯ ก็ได้มีการพัฒนาการจัดหาเครื่องบินและธุรกิจการบินมาตลอด โดยการนำเครื่องบินที่มีสมรรถนะการใช้งานดีเข้ามาเสริมการบริการ และเมื่อประเทศไทยเริ่มมีโครงการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยจรดทะเลอันดามัน บริษัทฯ ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทสำรวจหลายแห่งให้ทำการบินด้วยเครื่องบินและ เฮลิคอปเตอร์ สนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย หลังจากโครงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติของอ่าวไทยสำเร็จเรียบร้อย บริษัทฯ จึงมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งได้มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการทำงานอย่างรอบคอบ และมีประสิทธิภาพ มีการคำนึงถึงความปลอดภัยขณะทำการบินให้ผู้โดยสารอย่างสูงสุด ซึ่งในแต่ละช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้นำเครื่องบินแบบต่างๆที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานแต่ละช่วง ตามลำดับดังนี้

 
ปี พ.ศ. 2511     นำเครื่องบินแบบ “Trade Wind” ทำการบินให้หน่วยงานของสหรัฐ (OICC)
ปี พ.ศ. 2512     นำเครื่องบิน แบบ “ISLANDER BN2” ทำการบินให้หน่วยงานของ OICC
ปี พ.ศ. 2517     นำเครื่องบินแบบ “C-47” เข้ามาทำการบินสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย
ปี พ.ศ. 2518     นำเฮลิคอปเตอร์แบบ “WESSEX-60” ทำการบินสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย
ปี พ.ศ. 2519     นำเครื่องบินแบบ “PIPER NAVAJO CHIEFTAIN” ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาดเล็กทันสมัยที่สุดในขณะนั้น ครบถ้วนด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยการบิน เช่น เรดาร์, AUTO PILOT และระบบปรับความดันอากาศ เข้ามาทำการบินในรูปแบบเช่าเหมาลำภายในประเทศ และประเทศใกล้เคียง
ปี พ.ศ. 2521     นำเครื่องบินแบบ “C-46” ทำการบินขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทั่วไปในประเทศและประเทศใกล้เคียง
ปี พ.ศ. 2527     นำเครื่องบินแบบ “PILATUS PORTER” และเครื่องบินแบบ “PIPER AZTEC” ทำการบินให้กับสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย
นำเครื่องบินแบบ “BANDEIRANTE EMB 111 P2” ขนาด 18 ที่นั่ง เข้ามาให้บริการเพิ่มเติมในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หัวหิน
ปี พ.ศ. 2529     นำเครื่องบินแบบ “BANDEIRANTE EMB-110 P1” ขนาด 18 ที่นั่ง เข้ามาทำการบินประจำรับ-ส่งผู้โดยสาร ในเส้นทางที่ทางราชการกำหนดให้ คือเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สุรินทร์ และ กระบี่
ปี พ.ศ. 2532     นำเครื่องบินแบบ “DASH 8-100” ขนาด 37 ที่นั่ง เข้ามาบินในเส้นทางบินของบริษัทฯ ที่ทางราชการอนุมัติให้ คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-สมุย และในปีเดียวกันประมาณเดือนตุลาคม บริษัทฯ ก็ได้นำเครื่องบิน “DASH 8-100” อีก 1 เครื่องเข้ามาทำการบินเสริมในเส้นทางเดิมและเส้นทางกรุงเทพฯ-สมุย-ภูเก็ต และ กรุงเทพฯ- สมุย- หาดใหญ่
ปี พ.ศ. 2533     นำเครื่องบิน “DASH 8-300” ขนาด 56 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2534     นำเครื่องบินแบบ “DASH 8-300” เข้ามาให้บริการเป็นลำที่ 3
ปี พ.ศ. 2535     นำเครื่องบินกังหันไอพ่น “TURBO JET แบบ FOKKER 100” ขนาด 107 ที่นั่ง เข้ามาให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ-พนมเปญ
(พฤษภาคม) นำเครื่องบินแบบ “SHORTS SD3-60” ขนาด 36 ที่นั่งมาให้บริการ
(สิงหาคม) นำเครื่องบินแบบ “SHORTS SD3-60” ขนาด 36 ที่นั่งมาให้บริการ
ปี พ.ศ. 2536     นำเครื่องบินไอพ่น “FOKKER –100” ความจุ 107 ที่นั่ง เข้ามาบริการในเส้นทาง กรุงเทพฯ –พนมเปญ
นำเครื่องบิน “DASH 8-300” ขนาด 56 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 4
ปี พ.ศ. 2537     นำเครื่องบิน “ATR 72-200” ขนาด 70 ที่นั่ง จากประเทศฝรั่งเศส มาให้บริการจำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2538     นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-200” ขนาด 70 ที่นั่งมาให้บริการ จำนวน 3 ลำ
ปี พ.ศ. 2539     นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-200” ขนาด 70 ที่นั่งมาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2540     นำเครื่องบินแบบ “ATR 42-320” ขนาด 46 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2541     นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-212” ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2542     นำเครื่องบินแบบ “ATR 72-212” ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 1 ลำ
ปี พ.ศ. 2543     นำเครื่องบินแบบกังหันไอพ่น TURBO JET แบบ BOEING 717 ขนาด 125 ที่นั่ง มาให้บริการ
ปี พ.ศ. 2544     นำเครื่องบินแบบกังหันไอพ่น TURBO JET แบบ BOEING 717 ขนาด 125 ที่นั่ง มาให้บริการเป็นลำที่ 2
นำเครื่องบินแบบ ATR 72-212 A (ATR 72-500) ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการจำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2545     นำเครื่องบินแบบ BOEING 717-200 ขนาด 125 ที่นั่ง เข้ามาให้บริการ จำนวน 2 ลำ
นำเครื่องบินแบบ ATR 72-212 A (ATR 72-500) ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้ บริการ จำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2546     นำเครื่องบินแบบ ATR 72-212 A (ATR 72-500) ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการ จำนวน 2 ลำ
ปี พ.ศ. 2547     นำเครื่องบินแบบ Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน และ ลำที่2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน
ปี พ.ศ. 2548     นำเครื่องบินแบบ Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 3 เมื่อเดือนกันยายน
ปี พ.ศ. 2550     นำเครื่องบินแบบ Airbus 319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
ปี พ.ศ. 2551     นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 2 และ 3 ในเดือน มีนาคม ลำที่ 4 ในเดือน เมษายน และลำที่ 5 ในเดือนพฤศจิกายนนอกจากนี้ยังได้นำเครื่องบิน ATR 72-212 A ขนาด 70 ที่นั่ง มาให้บริการในเดือนเดียวกันอีกด้วย
ปี พ.ศ. 2552     นำเครื่องบินแบบ Airbus 319 ขนาด120 ที่นั่ง (ชั้นธุรกิจ 12 ที่นั่ง) ลำที่ 6 มาให้บริการในเดือนมกราคม และลำที่ 7 ในเดือนพฤษภาคม
ปี พ.ศ. 2554     นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 7 ในเดือนธันวาคม
ปี พ.ศ. 2555     นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 8 ในเดือนมีนาคม
ปี พ.ศ. 2555     นำเครื่องบินแบบ Airbus320 ขนาด 162 ที่นั่งมาให้บริการเป็นลำที่ 4 และ ลำที่ 5 ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
ปี พ.ศ. 2556     นำเครื่องบินแบบ Airbus319 ขนาด 144 ที่นั่ง 2 ลำมาให้บริการเป็นลำที่ 9 และ 10
ปี พ.ศ. 2556     นำเครื่องบินแบบ Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่ง 2 ลำมาให้บริการเป็นลำที่ 6 และ 7

 

ก่อนจะถึงวันนี้ นโยบายการบินของประเทศได้เริ่มเปลี่ยนไป โดยปี พ.ศ. 2527 เป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของบริษัทฯ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เอกชนสามารถทำการบินได้ในเส้นทางที่สายการบินของรัฐมิได้ทำการบิน และในปี พ.ศ. 2528 บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ทำการบินประจำภายในประเทศ ในเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และ กรุงเทพฯ-กระบี่ และบริษัทฯ ได้ทำการเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ในวันที่ 20 มกราคม 2529 โดยใช้เครื่องบินแบบ BANDEIRANTE EMB-110 ขนาดความจุ 18 ที่นั่งผู้โดยสาร

ในปัจจุบัน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นำเครื่องบิน ATR 72-500 ขนาด 70 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำจากประเทศฝรั่งเศส,เครื่องบิน Airbus 320 ขนาด 162 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ และ เครื่องบิน Airbus 319 ขนาด 144 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ Airbus 319 ขนาด 138 ที่นั่งจำนวน 4 ลำและ Airbus 319 ขนาด120 ที่นั่ง (ชั้นธุรกิจ 12 ที่นั่ง) จำนวน 4 ลำให้บริการแก่ผู้โดยสาร

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ได้ทำการจดทะเบียนเป็นบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

 
Parent Company     Bangkok Airways Public Company Limited      
Founded     1968, as Sahakol Air
1986, as Bangkok Airways
Headquarters     Bangkok, Thailand
CEO     Dr. Prasert Prasarttong-Osoth
President     Capt. Puttipong Prasarttong-Osoth
Operation Base     Suvarnabhumi International Airport
Privately-owned Airports     Samui Airport (1989)
Sukhothai Airport (1996)
Trat Airport (2002)
IATA Code / ICAO Code     PG / BKP
Aircraft Fleet     26
Frequent Flyer Program     FlyerBonus, Bangkok Airways
Destinations     Domestic : 11
International : 13
Website     http://www.bangkokair.com



เกี่ยวกับบทความ
ข่าวใหม่ล่าสุด
บางกอกแอร์เวย์
นกแอร์
Thai Air Asia
การบินไทย รักคุณเท่าฟ้า
อินเทอร์เน็ตบนมือถือ
รายการฮอต
ระบบการจัดการข้อมูลธุรกิจรวม ERP
 
การจัดการแบบครบวงจรการผลิต
การจัดการการเงินและการบัญชี
เกี่ยวกับการจัดการลูกค้า
การจัดการซัพพลายเออ
การจัดการรายการและฝ่ายบุคคล
ระบบสื่อการเรียนการสอนผ่านวีดีโอเว็ปไซต์
WEBcoระบบเครือข่ายวีดีโอ
คือการเปลี่ยนแปลงห้องเรียน และเป็นการปฏิวัติของที่ประชุม
  บริษัท เนทเวอร์คกิ้งเทคโนโลยี (ไทยแลนด์)จำกัด มีระบบการเรียนการสอนวิดีโอมัลติมีเดียเพื่อช่วยให้บริษัทของท่านสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายวิดีโอระยะไกล การเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ทางไกลใช้ข้อมูลร่วมกันทำงานร่วมกันและใช้เพื่อการฝึกอบรมระยะไกล ระบบเรียลไทม์วิดีโอโต้ตอบเสียง,ข้อความ, ไวท์บอร์ด, เว็บไซต์ปิดเรียลไทม์แบบโต้ตอบสำหรับการเรียนการสอน ผ่านการโต้ตอบนี้ระหว่างครูและนักเรียนระหว่างนักเรียนหรืออาจเป็นเรียลไทม์ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังใช้สำหรับการฝึกอบรมระยะไกลลดต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท ฯ เพิ่มมูลค่าการลงทุนเครือข่าย รายละเอียดกรุณาล็อคอินที่ webco.ws
รุ่นทดสอบเข้าสู่ระบบ http://10001.webco.ws/

สร้างและออกแบบเว็ปไซด์หลายภาษาของประเทศไทย

E-Mail ของขวัญ 500MB

บริการระดับมืออาชีพและฮาร์ดแวร์